งานบริการ

โรงงานอุตสาหกรรมทุกแห่งใช้พลังงานไฟฟ้า ในขณะที่ในบางอุตสาหกรรมมีการใช้พลังงานความร้อนในรูปแบบของเชื้อเพลิงและไอน้ำด้วยเช่นกัน โดยพลังงานถูกนำเข้ามาจากภายนอก ถูกแปลงให้อยู่ในรูปแบบและสถานะที่เหมาะสมก่อนนำไปใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งในส่วนของกระบวนการผลิต ส่วนงานสนับสนุน และส่วนสำนักงาน การประเมินสมรรถนะด้านพลังงานของทั้งโรงงานนอกจากช่วยให้ผู้บริหารทราบต้นทุนของการผลิตที่มาจากค่าใช้จ่ายด้านพลังงานแล้ว ยังสามารถชี้บ่งพื้นที่ที่มีศักยภาพในการปรับปรุง นำไปสู่การลดค่าใใช้จ่ายด้านพลังงานของโรงงาน

จากประสบการณ์ของ UEET พบว่าสำหรับโรงงานทั่ว ๆ ไป มาตรการประหยัดพลังงานที่พัฒนาจากข้อมูลที่ได้สร้างผลประหยัดระหว่าง 10% - 25% คุ้มกับทรัพยากรที่ใช้ในการดำเนินการ และเพื่อให้การประเมินฯ เป็นระบบ ครบถ้วน สร้างความมั่นใจต่อผลการวิเคราะห์และมาตรการประหยัดพลังงานที่ได้ UEET ได้พัฒนาแนวทางการดำเนินงานในลักษณะ Top Down Analysis โดยเริ่มจากการวิเคราะห์้ Profile การใช้พลังงานแต่ละประเภท จากนั้นแบ่งการประเมินแต่ละระบบ Utilities ออกเป็น 4 ระบบย่อย ได้แก่

  1. End-Uses ได้แก่ จุดที่ใช้พลังงานและ Utilities ต่าง ๆ โดยที่แต่ละจุดที่ใช้พลังงาน/Utilities จะวิเคราะห์ความเหมาะสมของการควบคุมด้านปฏิบัติการ, วิเคราะห์ความเหมาะสมของ Conditions ของพลังงาน/Utilities, วิเคราะห์พลังงานที่สูญเสีย และ วิเคราะห์พลังงานที่คงเหลืออยู่ใน Outputs
  2. Distribution ได้แก่ ระบบส่งจ่ายพลังงาน/Utilities จากต้นทางไปยังจุดใช้งาน โดยตรวจประเมินการสูญเสียในระบบท่อ วิเคราะห์ความเหมาะสมของขนาดท่อ
  3. Generation ได้แก่ระบบผลิตพลังงาน/Utilities โดยพิจารณาประสิทธิภาพของอุปกรณ์ที่ใช้ผลิต Utilities ลำดับการ Operate (Sequence)
  4. Recovery ได้แก่ ระบบส่งคืนพลังงาน/Utilities กลับต้นทาง โดยตรวจประเมินการสูญเสียในระบบท่อ วิเคราะห์ความเหมาะสมของขนาดท่อ